วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วาฬออร์กา Orca



วาฬเพชฌฆาต หรือ วาฬออร์กา (อังกฤษ: Killer whale, Orca) เป็นสปีชี่ส์ที่ใหญ่ที่สุดในในวงศ์ Delphinidae ของโลมา สามารถพบเห็นได้ในมหาสมุทรทั่วโลก ตั้งแต่แถบอาร์กติกและแอนตาร์กติก จนถึงทะเลในแถบเขตร้อน

ปลาวาฬเพชรฆาต เป็นปลาที่อยู่ในตระกูลของโลมา ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด โดยมักจะถูกมนุษย์นำมาเลี้ยงไว้ในสวนน้ำ พร้อมกับฝึกฝนเพื่อใช้แสดง เนื่องจากความฉลาดแสนรู้ของมัน แม้ว่าชื่อของมัน จะฟังดูน่ากลัวแต่รับรองได้ว่า ไม่ทำอันตรายมนุษย์แน่นอน
ออร์ก้า (Orca เป็นอีกชื่อหนึ่งที่ใช้เรียก ปลาวาฬเพชรฆาต (Killer whale) มันมีลักษณะเด่นที่ลวดลาย ซึ่งลำตัวด้านหลังของมัน จะเป็นสีดำ มีสีขาวที่ใต้ท้องและอก รวมทั้งรอบดวงตา ก็เป็นขีดสีขาวเช่นกัน นอกจากนี้ ทั้งครีบหลังของมัน ที่ตั้งฉากและสูงกว่าปลาวาฬอื่นๆ โดยเฉพาะตัวผู้ที่มีครีบหลังสูงถึง2 เมตร ซึ่งครีบหลังของตัวเมียจะไม่ค่อยตั้งฉาก แต่จะเอนไปทางด้านหลังมากกว่า ปลาวาฬเพชรฆาตตัวผู้ จะมีขนาดประมาณ 9.5 เมตร และประมาณ 6,500 กิโลกรัม ส่วนตัวเมียจะมีขนาด 7-8 เมตร และหนักประมาณ 4,500 กิโลกรัม
ส่วนใหญ่แล้ว สามารถพบปลาวาฬชนิดนี้ ได้ในมหาสมุทรทั่วโลก โดยเฉพาะแถบอุณหภูมิต่ำ อย่างขั้วโลกเหนือ รวมทั้งมหาสมุทรอาร์คติก และแอนตาร์กติกจะพบได้มาก เนื่องจากในน้ำแถบนั้น มีธาตุอาหารที่อุดสมบูรณ์ เหมาะแก่การอยู่อาศัยของกิโลกรัม โดยเหยื่อเหล่านั้นได้แก่ ปลา ปลาหมึก แมวน้ำ นกทะเล สิงโตทะเล เต่าทะเล ปลาโลมา เป็นต้น


ปลาวาฬเพชรฆาตจะอยู่สัตว์น้ำ จึงนับว่าเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของนักล่าอย่างปลาวาฬเพชรฆาต ซึ่งต้องการอาหารเป็นสัตว์เลือดอุ่นวันละ 60 กันเป็นฝูงประมาณ 5-30 ตัว และหากินแบบแท็กทีม ทำให้มันสามารถล้มปลาวาฬสีน้ำเงิน ที่มีขนาดใหญ่ มหึมาและฉลามขาวได้ ด้วยการกัดที่หางของเหยื่อ เพื่อทำให้เหยื่อ ไม่สามารถว่ายน้ำหนีได้ รวมทั้งยังสามารถ เหวี่ยงเหยื่อที่มีน้ำหนักมากกว่า 300 กิโลกรัม ให้ลอยอยู่กลางอากาศได้ โดยเฉพาะการคว่ำแผ่นน้ำแข็ง เพื่อลากแมวน้ำลงมาเป็นอาหาร นั่นจึงเป็นที่มาของชื่อ "ปลาวาฬเพชรฆาต"
โดยภายในกลุ่ม จะประกอบด้วยตัวผู้วัยฉกรรจ์เพียงหนึ่งตัว ตัวเมียวัยเจริญพันธ์มากกว่า 1 ตัว และลูกๆ ของพวกมัน ซึ่งจะว่ายน้ำไปพร้อมๆ กัน โดยมีระยะห่างไม่เกิน 1 กิโลเมตร โดยจะว่ายเหนือผิวน้ำ ด้วยความเร็วประมาณ 10-15 กิโลเมตร / ชั่วโมง แต่ความเป็นจริงแล้ว มันสามารถว่ายได้เร็วกว่า 50 กิโลเมตร / ชั่วโมง และดำน้ำได้ลึกถึง 300 เมตร
นอกจากความสามารถในการล่าแล้ว ปลาวาฬเพชรฆาต ยังส่งสัญญาณโซนาร์ใต้น้ำ เพื่อหาตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุตรงหน้า และยังมีความสามารถ ในการสอดแนม โดยใช้การลอยตัวตั้งขึ้นตรง เหนือน้ำ เพื่อหาเหยื่อและสอดส่องอันตรายรอบตัว โดยจะใช้หางช่วยพยุงให้ตัวตั้งขึ้น หรือที่เรียกว่า "Spyhopping”

ช่วงชีวิตของปลาวาฬ จะมีระยะเวลาประมาณ 100 ปี ตัวเมียจะโตเต็มวัย เมื่อมีอายุประมาณ 8-14 ปี แต่ตัวผู้จะใช้เวลาในการโตเต็มวัย นานกว่าตัวเมียประมาณ 2 ปี โดยตัวผู้จะผสมพันธ์กับตัวเมียหลายตัว เมื่อแม่วาฬตั้งท้อง มันจำเป็นต้องอุ้มท้องอยู่นาน 1 ปี หลังจากนั้น จะตกลูกออกมาเพียงหนึ่งตัว ซึ่งมีขนาดประมาณ 2.4 เมตร และหนักประมาณ 180 กิโลกรัม เมื่อเวลาผ่านไป 18 เดือน ลูกจึงจะโตเต็มที่ และแม่จะทิ้งช่วงไปประมาณ3-8 ปี จึงจะพร้อมผสมพันธ์ใหม่อีกครั้ง

อ้างอิง


เพนกวินจักรพรรดิ Emperor Penguin


เพนกวินจักรพรรดิ (อังกฤษ: Emperor Penguin) เป็นเพนกวินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาสปีชีส์ต่างๆ ที่มีถิ่นฐานอยู่ในทวีปแอนตาร์กติกา ตัวผู้และตัวเมียมีสีขนและขนาดใกล้เคียงกัน สูงราว 122 ซม (48 นิ้ว) และหนักระหว่าง 22–37 กิโลกรัม (48–82 ปอนด์) ขนด้านหลังสีดำตัดกันกับขนด้านหน้าตรงบริเวณท้องที่มีสีขาว อกตอนบนสีเหลืองอ่อนและค่อยๆ ไล่ลงมาจนเป็นสีขาว และบริเวณหูเป็นสีเหลืองจัด เพนกวินจักรพรรดิก็เป็นเช่นเดียวกันกับเพนกวินชนิดอื่นที่เป็นนกที่บินไม่ได้ แต่มีรูปร่างที่เพรียวและปีกที่ลู่ตามตัวแต่แข็งแบนเหมือนครีบที่เหมาะกับการเป็นสัตว์น้ำมากกว่าที่จะเป็นนก

อาหาร
อาหารที่บริโภคส่วนใหญ่เป็นปลา และรวมทั้งสัตว์ประเภทกุ้ง-กั้ง-ปู (crustacean) เช่น ตัวเคย และ สัตว์ประเภทเซฟาโลพอดเช่นปลาหมึก เมื่อดำน้ำหาอาหารเพนกวินจักรพรรดิสามารถอยู่ใต้น้ำได้นานถึง 18 นาที และสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 535 เมตรเนื่องจากลักษณะหลายอย่างที่ช่วยในการอยู่ใต้น้ำได้นานเช่นโครงสร้างของฮีโมโกลบินที่ทำให้มีชีวิตอยู่ได้ในบรรยากาศที่มีระดับออกซิเจนต่ำ โครงกระดูกที่แน่นที่ช่วยต้านความกดดันสูง (barotrauma) และความสามารถในการลดการเผาผลาญของร่างกาย (กระบวนการสร้างและสลาย) และการปิดการทำงานอวัยวะที่ไม่จำเป็นได้

ลักษณะ
เพนกวินจักรพรรดิที่โตเต็มที่สูงถึง 122 ซม (48 นิ้ว) และหนักตั้งแต่ 22 ถึง 45 กิโลกรัม (50–100 ปอนด์) ขึ้นอยู่กับช่วงการตั้งท้องและออกลูก เพนกวินทั้งตัวผู้และตัวเมียจะเสียน้ำหนักกว่า 23 กิโลกรัมระหว่างการกกและการเลี้ยงลูกนกที่เกิดใหม่เพนกวินจักรพรรดิก็เช่นเดียวกับเพนกวินสปีชีส์อื่นที่มีรูปร่างที่เพรียวที่ช่วยในการลดแรงดึงเมื่อดำน้ำ และมีปีกที่แข็งแบนที่เหมาะแก่การใช้เป็นครีบในการพุ้ยน้ำ ลิ้นมีปุ่มที่งอเข้าไปทางด้านในเพื่อป้องกันมิให้เหยื่อที่คาบหลุดจากปากได้ง่าย 

เพนกวินทั้งตัวผู้และตัวเมียมีขนาดและสีคล้ายคลึงกัน เพนกวินที่โตเต็มที่จะมีขนบนหลังเป็นสีดำเข้มที่คลุมหัว คาง คอ และด้านหลังของปีกและหาง ขนสีดำบนส่วนอื่นๆ ของร่างกายเป็นสีที่จางกว่า ใต้ปีกและท้องเป็นสีขาว และค่อยกลายเป็นสีเหลืองอ่อนบนส่วนบนของอก ขณะที่บริเวณหูเป็นสีเหลืองจัด ตอนบนของจงอยปากยาว ซม (นิ้ว) เป็นสีดำ และจงอยปากล่างอาจจะเป็นสีชมพู ส้ม หรือม่วง  ในลูกเพนกวินที่ยังเล็กรอยรอบหู คาง และคอจะเป็นสีขาว และจงอยปากจะเป็นสีดำ 

ลูกนกเพนกวินจักรพรรดิมักจะมีปกคลุมด้วยขนอ่อนฟู (down feather) สีเทาเงิน และมีหัวสีดำหน้าสีขาว ในปี ค.ศ. 2001 มีผู้พบลูกนกเพนกวินที่เป็นสีขาวทั้งตัว แต่ไม่ถือว่าเป็นเพนกวินเผือก (albino) เพราะตามีสีปกติมิได้เป็นสีชมพูอย่างสัตว์เผือกลูกนกเพนกวินมีน้ำหนักราว 315 กรัม (11 ออนซ์) หลังจากออกจากไข่ และเรียกได้ว่าโตพอที่จะเป็นนกใหญ่ได้เพราะมีขนาดครึ่งหนึ่งของน้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ ขนสีดำของเพนกวินจักรพรรดิจะจางลงเป็นสีน้ำตาลระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ก่อนที่จะทำการสลัดขนประจำปีระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ การสลัดขนเป็นไปอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับนกชนิดอื่น ที่ใช้เวลาทั้งหมดราว 34 วันจึงแล้วเสร็จ ขนใหม่จะงอกออกจากผิวหนัง หลังจากที่ยาวได้ราวหนึ่งในสามของความยาวเมื่อเทียบกับความยาวเต็มที่ ขนใหม่จึงเริ่มดันขนเก่าออกเพื่อช่วยบรรเทาการสูญเสียความร้อนของร่างกาย หลังจากนั้นขนใหม่ก็จะโตจนเต็มที่  อัตราเฉลี่ยการอยู่รอดปีต่อปีของเพนกวินตกประมาณ 95.1% โดยมีอายุถัวเฉลี่ยราว 19.9 ปี นักวิจัยประมาณว่าเพนกวินจักรพรรดิหนึ่งเปอร์เซ็นต์จะมีอายุยืนนานไปถึง 50 ปี แต่อัตราเฉลี่ยการอยู่รอดของลูกนกที่เกิดใหม่ตรงกันข้ามกับนกโตเต็มวัย ในปีแรกของชีวิต ลูกนกจะอยู่รอดมาได้เพียงราว 19% ฉะนั้น 80% ของฝูงเพนกวินจักรพรรดิจึงเป็นนกโตเต็มวัย ที่มีอายุห้าปีหรือแก่กว่านั้นเพนกวินจักรพรรดิมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีจากการเดินทางราว 50 ถึง 120 กิโลเมตรจากฝั่งทะเลไปยังบริเวณที่ทำการผสมพันธุ์ทุกปีเพื่อที่จะไปหาคู่ ผสมพันธุ์ กกและฟักไข่ และเลี้ยงลูกนกที่เกิดใหม่ และเป็นเพนกวินชนิดเดียวที่ผสมพันธุ์ระหว่างฤดูหนาวแบบอาร์กติก แหล่งผสมพันธุ์อาจจะเป็นบริเวณกว้างใหญ่ที่มีเพนกวินอาศัยอยู่ด้วยกันเป็นพันๆตัว ตัวเมียจะออกไข่ฟองเดียวทิ้งไว้ให้ตัวผู้ยืนกกระหว่างขาเป็นเวลาสองเดือนขณะที่ตัวเองเดินกลับไปทะเลเพื่อไปหาอาหารให้ตัวเองและนำกลับมาให้ลูกที่เกิดใหม่ เมื่อกลับมาทั้งพ่อและแม่ก็จะสลับกันเลี้ยงลูก อายุเฉลี่ยของเพนกวินจักรพรรดิราว 20 ปีและบางตัวอาจจะถึง 50 ปีก็ได้


กระต่ายอา์ร์กติก Arctic hare




กระต่ายอาร์กติก (Lepus arcticus) หรือกระต่ายขั้วโลกเป็นสายพันธุ์ของกระต่ายซึ่งมันจะเก็บไขมันให้แก่ร่างกายในช่วงฤดูร้อน อาร์กติกกระต่ายมีชีวิตอยู่กับขนหนาๆและมักจะขุดหลุมใต้พื้นดินหรือหิมะเพื่อให้อบอุ่นและนอนหลับ กระต่ายอาร์กติกมีลักษณะเหมือนกระต่ายป่า แต่มีหูสั้นและสามารถยืนขึ้นสูงและสามารถมีชีวิตอยู่ / รักษาตัวเองในสถานที่เย็นได้ พวกมันสามารถเดินทางไปด้วยกันกับกระต่ายอื่น ๆ อีกมากมายหลายครั้งหรือมากกว่า แต่มักจะพบเพียงอย่างเดียวการในบางกรณีมากกว่าหนึ่งคู่ กระต่ายอาร์กติกสามารถวิ่งได้ถึง 40 ไมล์ (64 กิโลเมตร) ต่อชั่วโมง เป็นอาหารของนักล่าน เช่น หมาป่า , สุนัขจิ้งจอกอาร์กติกและแมวน้ำ


ช่วงที่อยู่
กระต่ายอาร์กติกถูกกระจายไปทั่วทุ่งทุนดราภูมิภาคของเกาะกรีนแลนด์และส่วนเหนือสุดของแคนาดาไปทางทิศใต้ของเทือกเขา, อาร์กติกกระต่ายเปลี่ยนขน , ผลัดขนและการเจริญเติบโตที่ทำจากขนสัตว์ใหม่จากสีน้ำตาลหรือสีเทาในช่วงฤดูร้อนเป็นสีขาว ในฤดูหนาวเช่นเดียวกับขนสัตว์บางชนิดของ สัตว์ขั้วโลกเหนืออื่น ๆ รวมทั้งแมวน้ำและทาร์มิกานทำให้มันยังคงพรางเป็นการซ่อนตัวจากอันตรายอย่างไรก็ตามกระต่ายอาร์กติกทางเหนือไกลจากแคนาดาที่มีฤดูร้อนที่สั้นมาก ยังคงอยู่ในสีขาวตลอดทั้งปี



ลักษณะ
กระต่ายอาร์กติกเป็นสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในตระกูล lagomorphs  โดยเฉลี่ยแล้วสายพันธุ์นี้มีขนาด 43-70 ซม. (17-28) นานไม่นับหางยาวจาก 4.5-10 ซม. (1.8-3.9 ใน) น้ำหนักของสายพันธุ์นี้โดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 2.5-5.5 กิโลกรัม (6-12 ปอนด์) แม้ว่าตัวขนาดใหญ่ที่สามารถชั่งน้ำหนักได้ถึง 7 กิโลกรัม (15 ปอนด์)
อาร์กติกกระต่ายกินไม้ยืนต้นเป็นส่วนใหญ่ แต่ยังรับประทานอาหารประเภทเบอร์รี่,ใบและหญ้า ในช่วงต้นฤดูร้อนที่พวกมันกินต้นแซคซิฟริจสีม่วง แต่ก็มีความกระตือรือร้นในการดมกลิ่นและอาจขุดหากิ่งไม้วิลโลว์ใต้หิมะ เมื่อรับประทานพืชอาร์กติกกระต่ายชอบที่จะยืนที่ที่มีหิมะตกน้อยลงเพื่อให้สามารถค้นหากิ่งไม้หรือพืชที่ตกออกหรือนอนบนพื้นดินเพื่อให้เคี้ยว / กิน

กระต่ายตัวเมียสามารถมีลูกได้ถึงแปดตัวที่เรียกว่า leverets มันจะอาศัยอยู่ในบ้าน ดูแลลูกจนกว่าพวกลูกจะอายุมากพอที่จะอยู่รอดได้ด้วยตัวเอง มีช่วงชีวิตเป็น 5 ปี ถ้าพวกมันจะไม่ถูกฆ่าโดยนักล่าของพวกเขาหรือไม่ก็ตายจากสาเหตุธรรมชาติ

หมาจิ้งจอกอาร์กติก Arctic fox



หมาจิ้งจอกอาร์กติก, หมาจิ้งจอกขั้วโลก หรือ หมาจิ้งจอกหิมะ (อังกฤษ: Arctic fox, Snowy fox, Polar fox; ชื่อวิทยาศาสตร์: Vulpes หรือ Alopex lagopus) เป็นหมาจิ้งจอกขนาดเล็ก อาศัยอยู่ทั่วไปในเขตชายผั่งมหาสมุทรอาร์กติก ตลอกจนเขตทุนดราที่เต็มไปด้วยหิมะและน้ำแข็ง จัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอีกชนิดหนึ่ง ที่มีขนสีขาวเพื่อให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม ช่วยให้ล่าเหยื่อได้ง่าย และสามารถพรางตัวจากศัตรูได้ด้วย

มีทั้งหมด 3 ชนิดย่อย
V. l. beringensis พบในช่องแคบแบริง
V. l. fuliginosus พบในไอซ์แลนด์
V. l. pribilofensis พบในเขตมหาสมุทรอาร์กติก
ลักษณะภายนอก
หมาจิ้งจอกอาร์กติกจัดว่าเป็นสัตว์ที่สามารถปรับสภาพให้ดำรงอยู่ในสภาพอากาศที่หนาวจัดได้ดีชนิดหนึ่ง มีระบบการปรับอุณหภูมิ ที่สามารถควบคุมความร้อนในร่างกายได้ หมาจิ้งจอกอาร์กติกจะมีใบหน้าที่สั้นกว่าหมาจิ้งจอกชนิดอื่น และมีใบหูที่เล็ก ขนของมันฟูหนา เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อน มันจะมีขนอยู่บริเวณอุ้งเท้าเพื่อช่วยให้เดิน และวิ่งบนพื้นน้ำแข็งได้ในช่วงที่หิมะตกหนัก หรือเกิดพายุ หมาจิ้งจอกอาร์กติกจะขุดโพรงลึกลงไปใต้หิมะ และขดตัวนอนโดยใช้หางของมันตวัดมาปิดตัวและหน้าไว้คล้ายคนห่มผ้าห่ม และเมื่อฤดูหนาวหมดลง หิมะเริ่มละลาย ต้นไม้เริ่มผลิใบอ่อน หมาจิ้งจอกอาร์กติกเองก็มีการเปลี่ยนแปลง ขนสีขาวของมันจะร่วงลง และมีขนสีเทาอมน้ำตาลขึ้นแทนและจะสั้นกว่าขนในฤดูหนาว ทำให้ตัวมันดูเล็กลง และมีขนาดเท่าแมวบ้านเท่านั้น ในขั้วโลกเหนือฤดูร้อนนั้นสั้นมาก และเมื่อฤดูหนาวกลับมา จิ้งจอกขั้วโลกก็จะเปลี่ยนสีขนกลับไปเป็นขนสีขาวอีกครั้ง เป็นการบอกให้รู้ว่า การต่อสู้กับความหนาวเย็นกำลังจะเริ่มต้นอีกครั้ง



ขนาด
ความยาววัดตั้งแต่หัวถึงลำตัว เพศผู้ประมาณ 55 เซนติเมตร (22.7 นิ้ว) และเพศเมียยาวประมาณ 53 เซนติเมตร (20.9 นิ้ว) ความยาวของหาง เพศผู้ประมาณ 31 เซนติเมตร (12.2 นิ้ว) และความยาวของหางเพศเมียประมาณ 30 เซนติเมตร (11.8 นิ้ว) ความกว้างของลำตัวจิ้งจอกขั้วโลก ประมาณ 25-30 เซนติเมตร (9.8-11.8 นิ้ว) น้ำหนักโดยประมาณของเพศผู้ ประมาณ 9 ปอนด์ (4.1 กิโลกรัม) ในขณะที่เพศเมียน้ำหนักประมาณ 6-12 ปอนด์ (2.7-5.4 กิโลกรัม)


การออกลูก
ในฤดูใบไม้ผลิ ช่วงต้นเดือนกันยายนจนถึงพฤษภาคม ใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 52 วัน แม่หมาจะให้กำเนิดลูก โดยครอกหนึ่งจะมีประมาณ 6-7 ตัว ลูกหมาจะเติบโตอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันก่อนฤดูหนาวจะมาถึง ในช่วงเวลานี้พวกมันจะกินอาหารเป็นจำนวนมาก เพื่อเตรียมรับมือกับฤดูหนาวที่จะมาถึง หมาจิ้งจอกขั้วโลกจะเก็บอาหารไว้สำหรับฤดูหนาว เช่น ฝังซากหนูเลมมิ่งไว้ใต้หิมะ, เก็บไข่ไว้ในโพรงหิน บางตัวจะเก็บนกเล็ก ๆ ไว้ถึง 27 ตัว และไข่อีก 40 ฟอง สำหรับฤดูหนาว ลูกหมาอาจจะยังอาศัยอยู่กับพ่อแม่ในช่วงแรกจนขนบริเวณอุ้งเท้ามันหนาขึ้นเพื่อช่วยให้เดิน และวิ่งบนพื้นน้ำแข็งได้ในช่วงที่หิมะตกหนัก

การล่าเหยื่อ

ในช่วงที่อากาศดี หมาจิ้งจอกอาร์กติกจะออกมาหาอาหาร ตามปกติมันจะล่าสัตว์เล็ก ๆ เช่น หนูเลมมิ่ง, นกกระทาขั้วโลก บางครั้งถ้าโชคดี ก็จะเจอซากสัตว์ที่หมีขั้วโลกกินเหลือทิ้งไว้ ก็จะกินซากนั้น

อ้างอิง


หมีขาว Polar Bear





หมีขาว หรือ หมีขั้วโลก (อังกฤษ: Polar bear, รัสเซีย: Белый медведь, ชื่อวิทยาศาสตร์: Ursus maritimus) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กินเนื้อ (Carnivora) จัดเป็นหมีชนิดหนึ่ง




ลักษณะและที่อยู่
หมีขาว ถือได้ว่าเป็นสัตว์กินเนื้อบนพื้นดินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 รองจากหมีกริซลีย์ (U. arctos horribilis) (บางข้อมูลจัดให้เป็นที่ 1) ที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ ตัวผู้เต็มวัยอาจสูงได้ถึง 3 เมตร น้ำหนักตัวอาจมากได้ถึง 350–680 กิโลกรัม (770–1,500 ปอนด์) หมีขาวมีรูปร่างที่แตกต่างจากหมีชนิดอื่น ๆ ที่เห็นได้ชัดเจน คือ มีส่วนคอที่ยาวกว่า ขณะที่ใบหูก็มีขนาดเล็ก อุ้งเท้ามีขนาดใหญ่ และที่เป็นจุดเด่นเห็นได้ชัด คือ สีขนที่เป็นสีขาวครีมอมเหลืองอ่อน ๆ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก เนื่องจากผลของเกลือในน้ำทะเล ซึ่งขนสีครีมนี้ทำให้พรางตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยหิมะและน้ำแข็งได้เป็นอย่างดีหมีขาวกระจายพันธุ์อยู่เฉพาะซีกโลกทางเหนือ บริเวณขั้วโลกเหนือหรืออาร์กติกเท่านั้น จัดได้ว่าเป็นสัตว์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในซีกโลกนี้ อุ้งเท้าของหมีขาวมีขนรองช่วยให้ไม่ลื่นไถลไปกับความลื่นของพื้นน้ำแข็ง หมีขาวถือเป็นสัตว์ที่เดินทางไกลมาก โดยบางครั้งอาจจะใช้วิธีการนั่งบนแผ่นหรือก้อนน้ำแข็งลอยตามน้ำไป หรือไม่ก็ว่ายน้ำหรือดำน้ำไป ซึ่งหมีขาวจัดเป็นหมีที่ว่ายน้ำและดำน้ำเก่งมาก โดยใช้ขาหน้าพุ้ย หรือบางครั้งก็ใช้ทั้ง 4 ขา เคยมีผู้พบหมีขาวว่ายอยู่ในทะเลที่ห่างจากชายฝั่งไกลถึง 200 ไมล์หมีขาว เป็นหมีที่ถือได้ว่ากินอาหารมากกว่าหมีชนิดอื่น ๆ ซึ่งอาหารของหมีขาวมีมากมาย เช่น แมวน้ำ หรือ วอลรัส ด้วยการย่องเข้าไปเงียบ ๆ หรือหลบซ่อนตัวตามก้อนหินหรือก้อนน้ำแข็ง นอกจากนี้แล้วบางครั้งยังอาจจับนกทะเล ทั้งไข่และลูกนก บางครั้งก็จับปลากิน หรืออาจจะกินซากของวาฬที่ตายเกยตื้น หรือแม้แต่ซากหมีขาวด้วยกันหรือลูกหมีที่ตายได้ด้วย




วิถีชีวิต
เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวในเขตอาร์กติก (ราวเดือนธันวาคม-มกราคม) ดวงอาทิตย์จะค่อย ๆ คล้อยต่ำลงเรื่อย ๆ จนไม่ปรากฏอีกเลยที่เส้นขอบฟ้าตลอดฤดูกาล ซึ่งช่วงเวลานี้นับได้ว่าเป็นช่วงที่หฤโหดที่สุดในภูมิภาคนี้ เพราะไม่มีแสงสว่าง กลางวันจะมืดเหมือนกลางคืน อาหารก็ขาดแคลน พร้อมด้วยพายุหิมะติดต่อกันเป็นเวลาหลายเดือน หมีขาว ในช่วงเวลานี้จะเป็นเวลาที่ให้กำเนิดลูก โดยการขุดโพรงในน้ำแข็งหรือใต้ก้อนหิน เมื่อหิมะตกทับถมมา ผนังถ้ำจะหนาขึ้น และมีความอบอุ่นคล้ายกับอิกลูของชาวเอสกิโม แม่หมีจะคลอดลูกภายในถ้ำนั้น ลูกหมีเกิดใหม่จะมีความยาวราว 20 นิ้วเท่านั้น และมีน้ำหนักตัวไม่ถึงกิโลกรัมดี ซึ่งครั้งหนึ่ง แม่หมีจะออกลูกได้ราว 2 ตัว ในบางครั้งอาจมากถึง 4 ตัว ลูกหมีเกิดใหม่ตาจะยังไม่ลืม และยังไม่มีขนปกคลุมตามลำตัว และจะลืมตาได้เมื่ออายุราว 33 วัน แต่เลนส์ตาจะยังใช้การไม่ได้เต็มที่จนเมื่อมีอายุประมาณ 47 วัน และประสาทหูจะได้ยินเมื่ออายุ 26 วัน แต่จะใช้การได้ดีที่สุดเมื่ออายุได้ 3 เดือน เมื่อลูกหมีอายุเข้า 6 สัปดาห์ครึ่ง ก็ตรงกับช่วงระยะเวลาที่ผ่านพ้นฤดูหนาวพอดี

สำหรับแม่หมีในช่วงนี้จะไม่กินอาหารเลย แต่จะใช้พลังงานจากไขมันที่สะสมไว้ แม้กระทั่งหมีตัวผู้ก็จะเข้าสู่ถ้ำเพื่อจำศีล เมื่อผ่านพ้นฤดูหนาวไปแล้ว หิมะและน้ำแข็งเริ่มละลาย แสงแดดกลับมาอีกครั้ง (เดือนมีนาคม-เมษายน) ซึ่งในช่วงนี้ หมีตัวเต็มวัยอาจจะกินหญ้าหรือมอสส์ เป็นอาหารรองท้องได้ ลูกหมีจะหย่านม แม่หมีจะพาลูก ๆ ตระเวนไปในที่ต่าง ๆ เพื่อสอนวิธีการล่าเหยื่อให้ ลูกหมีจะอยู่กับแม่จนอายุได้ขวบกว่าหรือสองขวบ จากนั้นจะจากแม่ไปเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่